วันจันทร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551

www.nareerat.ac.th/~poungpen

สรรพคุณของต้นไม้มหัศจรรย์

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์คือ “ ราก ” โดยรากประกอบด้วยสารสำคัญกลุ่มแอลคาลอยด์ชื่อ stemonine tuberostemonine , stemonidine , Isostemonidine นอกจากนี้ใน species ที่ชื่อ S. Collinsae Craib ยังพบสาร Stemonacetal , Stemonal , Stemonone และจากสารสำคัญที่พบดังกล่าวทำให้รากมีสรรพคุณดังนี้ ฆ่าแมลง โดยชาวสวนนิยมนำไปทำเป็นยาฆ่าแมลงโดยเฉพาะชาวสวนพริกไทยในจังหวัดจันทบุรี ซึ่งวิธีการเตรียมยาคือ นำรากมาตำให้ละเอียดแล้วแช่ในน้ำมันมะพร้าวเสร็จแล้วนำไปฉีดในสวน ฆ่าหนอน โดยชาวจังหวัดพัทลุงนิยมนำรากหนอนตายอยากมาตำแล้วทาบริเวณที่เป็นแผลของโค , กระบือ หรือใช้ราอสดๆมาตำแล้วผสมกับปูนขาวยัดเข้าไปในแผลที่มีหนอนขึ้นเพื่อฆ่าหนอนและทำให้แผลแห้งได้ ฆ่าเหา , หิด โดยนำรากมาตำแล้วผสมกับน้ำมันพืชจากนั้นนำมาใส่ผมทิ้งไว้สักครู่แล้วจึงล้างออกจะสามารถฆ่าเหาได้และถ้าเป็นหิดก็นำน้ำมันพืชที่ผสมกับรากเรียบร้อยแล้วทาบริเวณที่เป็นโดยทาบ่อยๆจนกว่าจะหาย นอกจากนี้ได้มีการนำรากหนอนตายอยากไปใช้ในการฆ่าหนอนในการทำปลาร้าโดยนำรากมาทุบแล้ววางไว้บนปากไหปลาร้าก็สามารถกันไม่ให้หนอนขึ้นปลาร้าได้ ท่านผู้อ่านที่จะทำปลาร้าเพื่อไว้รับประทานเองหรือไว้สำหรับการส่งจำหน่ายก็สามารถนำรากหนอนตายอยากมาใช้ประโยชน์ได้นะ และมีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชจำพวกหนอน โดยเกษตรกรมักจะใช้หนอนตายอยากในการป้องกันกำจัดหนอนในแปลงพืชผัก นอกจากนี้ยังนำหนอนตายอยากมาใช้ในการป้องกันหนอนในปลาร้าอีกด้วย เพราะหากปลาร้ามีหนอนเกิดขึ้นแล้ว จะทำให้ไม่น่านำมาประกอบเป็นอาหาร
วิธีทำ 1. นำส่วนใบหรือเครือหนอนตายอยากมาตากให้แห้ง 2. นำมาม้วนคลุมปิดปากภาชนะที่บรรจุปลาร้าไว้ แล้วปิดฝาเมื่อทำเช่นนี้แล้ว แมลงวันจะไม่มาวางไข่ในปลาร้าอีก จึงนับว่าเป็นภูมิปัญญาในการรักษาปลาร้าไม่ให้เกิดหนอนได้และต้นหนอนตายอยากก็ไม่มีอันตรายต่อผู้บริโภคอีกด้วย

กำจัดมด
ในฤดูฝนมักจะมีมดหลบฝนเข้ามาอยู่ในที่พักอาศัยเสมอ บางครั้งมดจะเข้ามาเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะมดง่ามซึ่งจะกัดเจ็บ ทำให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่เจ้าของบ้านและผู้ที่อยู่อาศัย ชาวบ้านใช้รากของหนอนตายอยากมาป้องกันกำจัดมดได้ผลดี วิธีการ 1. ใช้ต้นหรือรากของหนอนตายอยากโขลก ตำ ให้ละเอียด 2. นำกากมะพร้าวมาคั่วแล้วนำมาผสมกับต้นหรือรากของหนอนตายอยากที่โขลกละเอียดแล้วให้เข้ากันดี 3. นำส่วนผสมมาวางไว้ตามทางเดินของมดง่าม เมื่อมดง่ามกินเข้าไปจะถูกสารพิษจากสมุนไพรตาย

แหล่งที่พบเจอ

ต้นหนอนตายอยากนี้ส่วนใหญ่จะพบได้ที่บริเวณมีความชุ่มชื่นและเป็นที่หน้าสังเกตได้คือ จะขึ้นบริเวณใต้ต้นกอไผ่สีสุข ต้นหนอนตายอยากนี้จะชอบแสงแดดมาก

หนอนตายอยาก

ขึ้นชื่อว่าหนอนแล้วทุกท่านที่ได้ยินและได้เห็นคงรู้สึกขยะแขยงและถ้าเป็นไปได้คือไม่พบไม่เห็นเป็นดีที่สุดเพราะถ้าเห็นหนอนที่ไหนก็หมายความว่าจะต้องมีสิ่งที่เน่าเหม็นอยู่ในบริเวณนั้นและท่านผู้อ่านทุกท่านก็คงอยากที่จะรู้วิธีกำจัดหนอนซึ่งในฉบับนี้ผู้เขียนจะกล่าวถึงสมุนไพรที่มีสรรพคุณฆ่าหนอนสมุนไพรนั่นคือ “ หนอนตายอยาก ” หนอนตายอยากเป็นสมุนไพรที่มีหลายพันธ์และมีชื่อเรียกทางภาษาอังกฤษแตกต่างกันแต่มีสรรพคุณเหมือนกันและในแต่ละท้องถิ่นจะเรียกชื่อต่างๆดังนี้ ปงมดง่าม โปงมดง่าม ( เชียงใหม่ ) ปงช้าง ( เหนือ ) ฮากสามสิบ ( ลาว ) รากลิง ( พัทลุง ) หนอนตายอยาก ( จันทบุรี , กลาง , นครสวรรค์ , แม่ฮ่องสอน ) กะเพียด ( ประจวบคีรีขันธ์ , ชลบุรี ) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Stemona tuberosa Lour. , S. collinsae Craib. อยู่ในวงศ์ Roxburghiaceae หนอนตายอยากเป็นพืชไม้เลื้อยที่มีรากใต้ดินเป็นจำนวนมากทำให้มีรูปร่างคล้ายกระสวยหรือทรงกระบอกและอยู่กันเป็นพวง รากจะมีความยาวได้ประมาณ 10 – 30 ซม. ใบเป็นใบเดี่ยวติดอยู่กับลำต้นออกตรงข้ามกัน ก้านใบยาว ฐานใบมนปลายใบเรียวแหลมรูปใบจะคล้ายใบพลูแต่ปลายใบจะแหลมยาวขึ้นไป เส้นใบจะชัดเจนมากมีหลายเส้นโดยออกในแนวขนานกับขอบใบและระหว่างเส้นใบดังกล่าวจะมีเส้นใบออกมาในแนวขวางใบทำให้เส้นใบมาตัดกันเกิดเป็นตาสี่เหลี่ยม เมื่อเข้าฤดูแล้งลำต้นจะโทรมเหลือแต่เหง้าและรากเมื่อฝนตกจะเริ่มผลิใบและออกดอก โดยดอกจะเป็นดอกเล็กๆสีขาวหรือสีม่วงอ่อนอยู่รวมกันเป็นช่อ ผลมีขนาดเล็กค่อนข้างแห้งมีสีน้ำตาล
หนอนตายหยากแบ่งเป็น 2 ประเภท
1.หนอนตายหยากเล็ก (Stemona spp.)เป็นไม้เถากลมเล็กสีเขียว ใบรูปหัวใจเส้นใบวิ่งตามยาว 10 เส้นผิวและขอบเรียบ สีเขียวเข้ม มีหัวเป็นแท่งกลมยาว ดอกบานสีแดงเข้มหรือขาว ฝักเล็กปลายแหลม ยาวราว 2 ซม กว้าง 1ซม.
สรรพคุณ ตำผสมน้ำพอกทาแก้ หิดเหาแมลง หนอน ศัตรูพืช
2.หนอนตายหยากใหญ่ (Stemona tuberose)ปลายใบเรียวกว่าหนอนตายหยากเล็ก ใบโตแล ะยาวกว่า เส้นใบวิ่งตามยาวประมาณ 15 เส้นสีเขียวอ่อนกว่าเล็กน้อย ใบโตและยาวกว่า รากเป็นหัวเก็บอาหารและเป็นพวง ดอกและผลเหมือนหนอนตายหยากเล็ก ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

วันพุธที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2551