วันจันทร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551

หนอนตายอยาก

ขึ้นชื่อว่าหนอนแล้วทุกท่านที่ได้ยินและได้เห็นคงรู้สึกขยะแขยงและถ้าเป็นไปได้คือไม่พบไม่เห็นเป็นดีที่สุดเพราะถ้าเห็นหนอนที่ไหนก็หมายความว่าจะต้องมีสิ่งที่เน่าเหม็นอยู่ในบริเวณนั้นและท่านผู้อ่านทุกท่านก็คงอยากที่จะรู้วิธีกำจัดหนอนซึ่งในฉบับนี้ผู้เขียนจะกล่าวถึงสมุนไพรที่มีสรรพคุณฆ่าหนอนสมุนไพรนั่นคือ “ หนอนตายอยาก ” หนอนตายอยากเป็นสมุนไพรที่มีหลายพันธ์และมีชื่อเรียกทางภาษาอังกฤษแตกต่างกันแต่มีสรรพคุณเหมือนกันและในแต่ละท้องถิ่นจะเรียกชื่อต่างๆดังนี้ ปงมดง่าม โปงมดง่าม ( เชียงใหม่ ) ปงช้าง ( เหนือ ) ฮากสามสิบ ( ลาว ) รากลิง ( พัทลุง ) หนอนตายอยาก ( จันทบุรี , กลาง , นครสวรรค์ , แม่ฮ่องสอน ) กะเพียด ( ประจวบคีรีขันธ์ , ชลบุรี ) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Stemona tuberosa Lour. , S. collinsae Craib. อยู่ในวงศ์ Roxburghiaceae หนอนตายอยากเป็นพืชไม้เลื้อยที่มีรากใต้ดินเป็นจำนวนมากทำให้มีรูปร่างคล้ายกระสวยหรือทรงกระบอกและอยู่กันเป็นพวง รากจะมีความยาวได้ประมาณ 10 – 30 ซม. ใบเป็นใบเดี่ยวติดอยู่กับลำต้นออกตรงข้ามกัน ก้านใบยาว ฐานใบมนปลายใบเรียวแหลมรูปใบจะคล้ายใบพลูแต่ปลายใบจะแหลมยาวขึ้นไป เส้นใบจะชัดเจนมากมีหลายเส้นโดยออกในแนวขนานกับขอบใบและระหว่างเส้นใบดังกล่าวจะมีเส้นใบออกมาในแนวขวางใบทำให้เส้นใบมาตัดกันเกิดเป็นตาสี่เหลี่ยม เมื่อเข้าฤดูแล้งลำต้นจะโทรมเหลือแต่เหง้าและรากเมื่อฝนตกจะเริ่มผลิใบและออกดอก โดยดอกจะเป็นดอกเล็กๆสีขาวหรือสีม่วงอ่อนอยู่รวมกันเป็นช่อ ผลมีขนาดเล็กค่อนข้างแห้งมีสีน้ำตาล
หนอนตายหยากแบ่งเป็น 2 ประเภท
1.หนอนตายหยากเล็ก (Stemona spp.)เป็นไม้เถากลมเล็กสีเขียว ใบรูปหัวใจเส้นใบวิ่งตามยาว 10 เส้นผิวและขอบเรียบ สีเขียวเข้ม มีหัวเป็นแท่งกลมยาว ดอกบานสีแดงเข้มหรือขาว ฝักเล็กปลายแหลม ยาวราว 2 ซม กว้าง 1ซม.
สรรพคุณ ตำผสมน้ำพอกทาแก้ หิดเหาแมลง หนอน ศัตรูพืช
2.หนอนตายหยากใหญ่ (Stemona tuberose)ปลายใบเรียวกว่าหนอนตายหยากเล็ก ใบโตแล ะยาวกว่า เส้นใบวิ่งตามยาวประมาณ 15 เส้นสีเขียวอ่อนกว่าเล็กน้อย ใบโตและยาวกว่า รากเป็นหัวเก็บอาหารและเป็นพวง ดอกและผลเหมือนหนอนตายหยากเล็ก ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น